Call Center 02-102-4418-9

บริษัท บำบัด พัฒนา จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำและการกำจัดของเสียในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์

ยินดีต้อนรับสู่ บำบัดพัฒนา

บทความ

เทคโนโลยีการจัดการน้ำ สำหรับฟาร์มปศุสัตว์ไทย

Revamped Water Technology: The big change in Thailand’s livestock industry

ดร.วุฒิกร อินจนา
Ms. Environmental Management
Ph.D. Agricultural Education

การบริหารจัดการ น้ำ ให้ได้มาตรฐาน และถูกต้องตามหลัก ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) เป็นรูปแบบการทำงานแบบเชิงรุก ที่มีจุดประสงค์การป้องกัน (Prevention) มากกว่าการรักษา (Treatment) โรคสัตว์ ถือเป็น พลวัตการทำงานของกลุ่มนักธุรกิจปศุสัตว์รุ่นใหม่ ที่มีความรู้และลักษณะการทำธุรกิจแบบก้าวหน้าและยั่งยืน  (ดิเรก ศรีเชวงทรัพย์, 2565)

จากบทความที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า บริษัท บำบัดพัฒนา จำกัด ให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการน้ำ อย่างมีระบบ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนตกตะกอน ซึ่งส่วนใหญ่คือ อินทรีวัตถุซากพืชซากสัตว์ที่มากับน้ำ (Clear) ถือเป็นขั้นตอนสำคัญ ในการตัดตอนเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มปศุสัตว์ ด้วยขบวนการตกตะกอน (Clarifier system) โดยใช้สารเคมีเช่น สารส้ม (Alum), PAC (Poly Aluminum Chloride), โพลิเมอร์(Polymer) เพื่อสร้างและรวมตะกอน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในการบำบัดน้ำผิวดิน เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง จากแหล่งธรรมชาติ เป็นต้น การนำ น้ำ เข้าฟาร์มเลี้ยงสัตว์มีความสำคัญ เพราะเราไม่ทราบว่าในน้ำที่เห็นว่าใสจะสะอาดปราศจากเชื้อโรคหรือไม่ จากข้อมูลจากพื้นที่จริงพบว่า น้ำบาดาลในระดับความลึกมากๆ มีความใส และค่าความขุ่นไม่เกินค่ามาตรฐานน้ำปะปา (ไม่เกิน 5 NTU) ยังสามารถตรวจพบเชื้อโรคปะปนมากับน้ำจากการตรวจ Microbiology Test และและพบสารประกอบโลหะหนักตกค้าง อยู่ในระดับเกินมาตรฐานกำหนด เช่น หินปูน แมงกานีส เป็นต้น

ขั้นตอนการทำความสะอาดน้ำให้ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค (Clean) โดยใช้สารเคมีประเภทกลุ่มคลอรีน เป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลาย ในการควบคุมและป้องกันโรคสัตว์ ได้แก่ กลุ่มอาการมดลูกและเต้านมอักเสบ(MMA) โรคท้องเสียในลูกสุกรจากเชื้ออี.โคไล (E.coli) โรคปากเท้าเปื่อย(FMD), โรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร(ASF), โรคพีอาร์อาร์เอส(PRRS), (ไชยยง กฤษณเกรียงไกร, 2565) และ โรคไข้หวัดนก(H5N1) จึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งเพราะ น้ำเป็นสิ่งที่สัตว์ดื่มกินในปริมาณมากและตลอดเวลา หากมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค เท่ากับสัตว์ได้รับเชื้อโรคทุกครั้งที่บริโภคน้ำ หรือ เป็น 2 เท่า ของการกินอาหาร สำหรับ การใช้สารเคมีในการฆ่าเชื้อโรคในน้ำโดยใช้คลอรีน เริ่มจาก คลอรีนผง หรือ แคลเซียมไฮโปคลอไรต์ (Calcium hypochlorite ,CaCl2O2)ส่วนใหญ่มีความเข้มข้นที่ 65 เปอร์เซ็นต์ มีข้อจำกัดในการใช้ปริมาณการใช้ และลักษณะทางเคมีที่ยากต่อการใช้จริง และการแตกตัวละลายในน้ำ ส่วน คลอรีนน้ำ หรือ โซเดียมไฮโพคลอไรต์ (Sodium hypochlorite, NaOCl) (พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์และนิธิยา รัตนาปนนท์) ซึ่งส่วนใหญ่ในตลาดจะเป็นที่ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์และมักเป็นผลพลอยได้จากโรงงานผลิตสี และสารฟอกขาว หรือเป็นการนำคลอรีนผงมาละลายน้ำต่อทำให้มี ข้อจำกัด เรื่องสถานะความคงตัว(Shelf life) เพราะ กว่าที่สารเคมีคลอรีนน้ำ จะเดินทางมาถึงฟาร์มต้องผ่านจาก ผู้ผลิต (Producer) สู่ ผู้จัดจำหน่าย (Distributer) และผู้ใช้ตัวจริง (User) ค่อนข้างนาน โดยเฉพาะฟาร์มที่มีปริมาณการใช้น้ำไม่เยอะ จะพบปัญหาการเก่าของสารเคมีและเสื่อมประสิทธิภาพจนไม่สามารถฆ่าเชื่อโรคได้อย่างสมบูรณ์ และ การทำปฏิกิริยาทางเคมี (Oxidation) ในน้ำที่มีระดับความเป็นกรดและด่างแปรปรวน มากกว่า 8 ไม่ได้ ด้วยความเข้าใจในอดีต น้ำบาดาลเป็นแหล่งน้ำที่ผู้ประกอบการปศุสัตว์เลือกใช้เป็นส่วนใหญ่เพราะ เข้าใจว่า ใส จะ สะอาด มีคุณภาพพอให้สัตว์ดื่มกินได้ แต่ในความเป็นจริงกลับเป็นเช่นนั้น ไม่ การเลือกใช้เครื่องมือที่ถูกต้องและเหมาะสมจึงถือเป็นความสามารถที่สำคัญในผู้ประกอบการยุคใหม่

ภาพตัวอย่างการเปรียบเทียบการตรวจ Microbiology Testing จากแหล่งน้ำใต้ดิน(บาดาล) ก่อนใช้คลอรีนออกไซด์

หลังใช้คลอรีนออกไซด์(BelloZon)

คลอรีนไดออกไซด์ เป็น ที่ยอมรับในวงวิชาการทางสัตว์แพทย์ว่าควบคุมเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้โดยเฉพาะในโรค อหิวาต์แอพริกันในสุกร(ASF) ที่ระดับความเข้มข้น 1.2 ppm หรือเพียง 1.2 มิลลิลิตรในน้ำ 1,000 ลิตร ก็สามารถควบคุมเชื้อไวรัสก่อให้เกิดโรคได้( Wei R, Wang X, Cao Y, Gong L, Liu X, Zhang G, and Guo C, 2022) และ ยังสามารถแตกตัวเพื่อแลกเปลี่ยนประจุ(Oxidation) เพื่อฆ่าเชื้อโรคได้เร็วกว่าคลอรีนน้ำเพราะสถานะเป็นแก๊ส ทั้งยังสามารถทำปฏิกิริยาในระดับความเป็นกรดและด่างที่กว้าง ( pH 4-10 ) ซึ่งตรงข้ามกับคลอรีนน้ำ( Sodium hypochlorite, NaOCl ) สิ้นเชิงที่ไม่สามารถทำงานได้ตั้งแต่ ความเป็นกรดด่าง pH 8 เป็นต้นไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นระดับความเป็นกรดและด่างของน้ำบาดาล ในประเทศไทย(เฉลิม ชัยบุญเรือง, 2553)

“จะเห็นได้ว่าการจัดการ น้ำ สำหรับฟาร์มปศุสัตว์ มีความสำคัญต่อผลประกอบการในอนาคตของธุรกิจอย่างชัดเจน ตั้งแต่ ปริมาณ แหล่งที่มา และคุณภาพ เพราะ น้ำดีมีมาตรฐาน เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตและมีผลต่อสุขภาพสัตว์โดยตรง เป็นปัจจัยพื้นที่ฐานที่ผู้ประกอบการมักละเลย (สายชล แสงให้สุข, 2565) ธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ต้องใช้ องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ ทั้งด้านผลการวิเคราะห์น้ำ และค่าการวิเคราะห์ประสิทธิภาพคลอรีนน้ำ (ค่าคงเหลือ) หรือแม้กระทั้งผลการตรวจเพาะเชื้อโรคในน้ำ (Microbiology Tests) เพื่อยืนยันผลตัวมันเอง เป็นที่ยืนยันอย่างชัดเจนที่สุดในการควบคุมเชื้อ เพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกใช้รูปแบบและแหล่งที่มาของสารเคมีของระบบใดระบบหนึ่ง ทำให้ การปรับตัว (Disruptions) เพื่อกลับมาสร้างธุรกิจใหม่อีกครั้ง เกิดความแข็งแกร่งทางธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ ดำเนินหน้าต่อไปอย่างยั่งยืน ในอนาคต ”

อ้างอิง

เฉลิม ชัยบุญเรือง. 2553 การบริหารจัดการคุณภาพน้ำบาดาล กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หลักสูตรวิศกรรมมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทางวิศวกรรม

ไชยยง กฤษณเกรียงไกร โรคสุกรที่สำคัญต่อการส่งออก ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพและความปลอดภัยทางด้านอาหาร ค้นจาก https://www.swinethailand.com/15355085

ดิเรก ศรีเชวงทรัพย์. ประธานกรรมการ บริษัท บำบัดพัฒนา จำกัด. (สัมภาษณ์. 6 พฤษภาคม 2565)

สายชล แสงให้สุข. ผู้อำนวยการส่วนน้ำเสียเกษตรกรรม กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ. (สัมภาษณ์. 19 เมษายน 2565)

Wei R, Wang X, Cao Y, Gong L, Liu X, Zhang G, and Guo C (2022) Chlorine Dioxide Inhibits African Swine Fever Virus by Blocking Viral Attachment and Destroying Viral Nucleic Acids and Proteins. Front. Vet. Sci. 9:844058.doi: 10.3389/fvets.2022.844058

บทความอื่นๆ