Call Center 02-102-4418-9

บริษัท บำบัด พัฒนา จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำและการกำจัดของเสียในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์

ยินดีต้อนรับสู่ บำบัดพัฒนา

บทความ

น้ำไม่ดี สัตว์จะมีสุขภาพดีได้อย่างไร? การจัดการน้ำที่ดี ทางรอดปศุสัตว์ไทยอย่างยั่งยืน

ดร.วุฒิกร อินจนา
Ms. Environmental Management
Ph.D. Agricultural Education
ฝ่ายเทคนิคและสนับสนุนงานขาย
บริษัท บำบัดพัฒนา จำกัด

น้ำ คือปัจจัยการผลิตที่สำคัญเป็นลำดับต้น ๆ ของระบบการผลิตสุกร เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในทุกปฏิกิริยาทางเคมี และในทุกขบวนการดำรงชีวิตของสุกร ไม่ว่าจะเป็น การหายใจ การย่อยอาหาร การรักษาอุณหภูมิในร่างกาย การไหลเวียนโลหิต จึงทำให้สุกรมีความจำเป็นและต้องการน้ำมากกว่าอาหาร 2 เท่าด้วยเช่นกัน แต่ในความเป็นจริงที่ผ่านมา น้ำ ถูกละเลยความสำคัญเรื่องคุณภาพไปเป็นส่วนใหญ่จากผู้ประกอบการ เพราะมีความเข้าใจผิดว่าสัตว์ไม่ต้องการเรื่องความสะอาดปราศจากสิ่งเจือปนเท่ากับมนุษย์บริโภค ในขณะที่โรคระบาดสุกรส่วนใหญ่สามารถแพร่กระจายจากน้ำ ไม่เว้นแม้แต่โรคที่กำลังสร้างปัญหาอย่างรุนแรงให้แก่ภาคธุรกิจส่วนรวมในวงการเลี้ยงสุกร เช่น โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever ) ด้วยเช่นกัน

บริษัท บำบัด พัฒนา จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำและการกำจัดของเสียในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์
รูปที่ 1 Virus ASF โดยกล้องจุลทรรศน์

แหล่งน้ำที่ฟาร์มสุกรในปัจจุบันใช้เป็นแหล่งน้ำดิบ มีการจำแนกแหล่งที่มาได้จาก 2 แหล่งคือ แหล่งน้ำบนดิน (Surface water) ได้แก่ แหล่งน้ำจาก ห้วย หนอง คลอง บึง บ่อ ที่มีข้อจำกัดเรื่อง ตะกอนซากพืชซากสัตว์ สารแขวนลอย และมาตรฐานด้านกายภาพที่ผันแปรตามฤดูกาล และการปนเปื้อนเชื้อโรคสูง เป็นต้น และแหล่งน้ำใต้ดิน (Ground water) ที่ส่วนใหญ่เรียกว่าน้ำบาดาล ซึ่งได้จากแหล่งน้ำที่มีความลึกกว่าผิวดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป (กรมน้ำบาดาล, 2565) ที่มักมีข้อจำกัด เรื่องโลหะหนัก และสารแขวนลอยบางประเภทที่ปะปนมากับน้ำ เช่น เหล็ก แมงกานีส และ หินปูน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตโดยรวม และ อุปกรณ์ที่สำคัญในระบบต่างๆ เช่น การเกาะติดของ หินปูน ในนิปเปิ้ล ที่ส่งผลการกินน้ำในสัตว์ และการเกาะใน Cooling pad ที่ส่งผลต่อการระบายอากาศ การละลายตัวของยาบางชนิดที่ให้โดยการละลายน้ำให้สัตว์กิน ตลอดจน เชื้อโรคบางชนิดที่ปนเปื้อนมาจากการฝังซากสัตว์แบบผิดวิธี

บริษัท บำบัด พัฒนา จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำและการกำจัดของเสียในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์
รูปที่ 2 การเกาะติดของหินปูนในเส้นท่อระบบน้ำในฟาร์ม

ดังนั้นการวางแผนและจัดเตรียมแหล่งน้ำที่ดีและได้มาตราฐานเพื่อฟาร์มปศุสัตว์คือหัวใจก้าวสำคัญในการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมปศุสัตว์ (livestock industry Platform) ขั้นตอนการบำบัดน้ำสำหรับฟาร์มปศุสัตว์ สามารถรวบรวมเพื่อทำความเข้าใจ ได้ดังนี้

ขั้นที่ 1 ขั้นตอนการสร้างและกำจัดตะกอน
ขั้นที่ 2 ขั้นตอนการกำจัดสารแขวนลอยและแร่ธาตุโลหะหนัก
ขั้นที่ 3 ขั้นตอนการกำจัดเชื้อโรคภายในน้ำ

ขั้นตอนการสร้างและกำจัดตะกอน ส่วนใหญ่นิยมใช้สารเคมี ในการสร้างตะกอน และนำพาให้น้ำที่ผสมสารเคมีไหลผ่าน Static mixer เพื่อผสมสารเคมีและน้ำต้นทุนให้เข้ากันอีกครั้งและให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีสมบูรณ์แบบที่สุด จากนั้นใช้ถังตกตะกอนเพื่อรวบรวมตะกอนโดยใช้หลักแรงโน้มถ่วงโลกและกำจัดโดยการกำจัดตะกอนทิ้ง

บริษัท บำบัด พัฒนา จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำและการกำจัดของเสียในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์
รูปที่ 3 รูปแสดงขั้นตอนการตกตะกอนน้ำดิบภายในฟาร์ม

ขั้นตอนการกำจัดสารแขวนลอยและแร่ธาตุโลหะหนัก

โดยส่วนใหญ่ปัจจุบันการบำบัดน้ำในขั้นตอนนี้ นิยมใช้การทำงานของการแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้า (Ion Exchange) และ ทำการฟื้นฟูปฏิกิริยากลับคืน(Regenerant) ด้วยน้ำเกลือ (NaCl) ที่ความถ่วงจำเพาะร้อยละ 25 หรือใช้กรดกำมะถัน (H2SO4) หรือ กรดเกลือ (HCL) เพื่อเติมไฮโดรเจนไอออน (H+) ให้แก่สารตั้งต้นในการแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้า หรือ น้ำประปาธรรมดาในการล้างกลับ (Backwash) ของสารกรองบางประเภท เช่น คาร์บอน (Carbon) แมงกานีส (Manganese) เหล็ก (Iron) และ แอนทราไซด์ (Anthracite) เป็นต้น เป็นต้น

บริษัท บำบัด พัฒนา จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำและการกำจัดของเสียในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์
รูปที่ 4 รูปแสดงขั้นตอนการบำบัดน้ำกระด้าง

ขั้นตอนการกำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับน้ำ

การควบคุมเชื้อโรคในน้ำถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในขบวนการจัดการน้ำดื่มน้ำใช้ในฟาร์มปศุสัตว์ เพราะสัตว์เป็น สิ่งมีชีวิตที่ไม่ได้ต้องการน้ำเพื่อการกินเพียงอย่างเดียวแต่ยังจำเป็นต้องการใช้ในขบวนการอื่นๆอีกเช่นกัน เช่น การระบายความร้อนเพื่อรักษาระดับอุณหภูมิในแม่สุกรอุ้มท้องเพื่อรักษาการเกาะติดของตัวอ่อนของลูกสุกร เป็นตัวช่วยในการลดอุณหภูมิโดยการนำพาอุณหภูมิความร้อนให้เคลื่อนที่โดยหลักการ Ventilation ในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ จากหลักการความร้อนแฝง Latent heat เพราะเป็นสาเหตุแห่งปัจจัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดความสูญเสียรุนแรงต่อมาในระบบการผลิต เช่น การกินได้ตก โตช้า ลูกไม่ดก จำนวนไข่ต่อวันไม่ได้เกณฑ์มาตรฐาน และก่อให้เกิด โรคระบาดสัตว์อีกมากมายหลายชนิด เช่น โรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร( African Swine Fever) ท้องเสียจากอีโคไล และไข้หวัดนก เป็นต้น ในปัจจุบันมีการจัดการเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในน้ำ ดังนี้ การใช้กรองผ่านแรงดันสูง (Reverse Osmosis) และ การใช้สารเคมี เช่น สารคลอรีน และคลอรีนไดออกไซด์ เป็นต้น

การกรองน้ำผ่านชั้นกรองโดยใช้แรงดันสูง (Reverse Osmosis) คือ ขบวนการใช้แรงดันน้ำผ่านชั้นกรองที่มีความละเอียดสูงๆที่ขนาด 0.0001 ไมครอน ที่มีขนาดเล็กกว่าจุลินทรีย์ชนิดต่างๆเช่น ไวรัสและแบคทีเรีย 0.01 ไมครอน ส่งผลให้จุลินทรีย์หลายชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของชั้นกรองไม่สามารถผ่านชั้นกรองดังกล่าวได้

การใช้สารเคมี เป็นวิธีการที่ใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบันเนื่องจาก มูลค่าการลงทุนไม่สูงมากนักและง่ายต่อการจัดการ ทั้งประสิทธิภาพค่อนข้างสมบูรณ์แบบ เมื่อเทียบจากแบบข้างต้น แต่ในความเป็นจริง มีรายละเอียดที่ต้องให้ความสำคัญ เช่นกัน คุณภาพน้ำต้นทุน เช่น ปริมาณสารแขวนลอย ระดับความเป็นกรด-ด่างของน้ำต้นทุน เป็นต้น เพราะหลักการทำงานในการฆ่าเชื้อโรคในน้ำของใช้หลักการทำงานของปฏิกิริยา อ็อกซิเดชัน(Oxidation reaction) โดยให้ตัวเองสารคลอรีนเป็นตัวออกซิไดซ์(Oxidizing Agent) ซึ่งหลักการทำงานส่วนใหญ่จะแลกเปลี่ยนประจุ ทำให้เซลล์ของจุลินทรีย์หรือเชื้อโรคแตกและตายในที่สุด

การใช้คลอรีนไดออกไซด์ (Bello Zon) จึงเป็นตัวเลือกที่ถูกจับน่าสนใจด้วยคุณสมบัติที่สำคัญดังนี้

มีสถานะเป็นแก๊สที่ละลายในน้ำจึงมีความสามารถแตกตัวได้เร็ว สามารถทำงานในระดับความเป็นกรดและด่าง กว้าง ไม่ถูกจำกัดการทำงานในสภาพความเป็นกรดและด่างของน้ำต้นทุนที่ 7.5 มีความสามารถกำจัดสิ่งปฏิกูลในเส้นท่อระบบน้ำได้ (Biofilm) ซึ่งมีผลต่อสุขภาพสิ่งมีชีวิต (เขมมาภรณ์, 2561) และมีความสามารถควบคุมเชื้อโรคอหิวาแอฟริกันในสุกร( African Swine Fever) ที่ 3 -5 พีพีเอ็ม (อลงกต, 2564) แต่ระบบการจ่ายสารคลอรีนไดออกไซด์มีหลากหลายวิธีการ ผู้ใช้ต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณาเป็นสำคัญ

บริษัท บำบัด พัฒนา จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำและการกำจัดของเสียในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์
รูปที่ 5 ชุดอุปกรณ์จ่ายคลอรีนไดออกไซด์ Bello Zon

หลักการที่สำคัญในการติดตั้งระบบของ บริษัท บำบัดพัฒนา จำกัด คือ การทำงานบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กล่าวคือ มีการเก็บตัวอย่างน้ำดิบของฟาร์มเพื่อทำการตรวจสอบคุณสมบัติค่าการแตกตัวเบื้องต้นของคลอรีนในน้ำดิบหรือที่เรียกว่า ค่า Consumption ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ทำโดยห้องปฏิบัติการ ของบริษัทโพรมิแนนท์ ฟลูอิค คอนโทรลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่กระทำโดยวิศวกรเคมีและนักเคมี เพื่อหาปริมาณการจ่ายสารคลอรีนไดออกไซด์ (Dosing Rate) พร้อมทำการเช็คความแม่นยำและประสิทธิภาพระบบโดยมีการตรวจสอบย้อนกลับระบบโดยการตรวจสอบความคงเหลือของเคมี (Residual Rate) และประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อ (Biological test) ก่อนส่งมอบระบบทุกครั้ง

Dosing Rate – Consumption = Residual Rate

บริษัท บำบัด พัฒนา จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำและการกำจัดของเสียในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์
รูปที่ 6 อุปกรณ์ห้องปฏิบัติการบริษัท โพรมิแนนท์ ฟูลอิค คอนโทรลส์ ประเทศไทย จำกัด

บริษัท บำบัดพัฒนา จำกัด เล็งเห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของน้ำที่มีต่อระบบการเลี้ยงสุกรในประเทศไทย ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ จึงได้พัฒนาระบบและนวัตกรรม อันเป็นประโยชน์ต่อวงการเลี้ยงสัตว์บ้านเรา เช่น การพัฒนาระบบตกตะกอนน้ำดิบที่ครบถ้วนด้านอุปกรณ์ทุกชนิดในระบบการจัดการ และระบบจ่ายคลอรีนไดออกไซด์ (Bello Zon ) ที่สามารถตอบสนองฟาร์มทุกขนาดการเลี้ยง ง่ายต่อการติดตั้ง และตรวจสอบคุณภาพของน้ำอย่างสม่ำเสมอ

อ้างอิง

กรมน้ำบาดาล (2565) ตอบข้อสงสัยทำไมต้องขออนุญาตเจาะน้ำบาดาลในที่ตนเอง สืบค้น 12 มีนาคม 2565 จาก https://www.kaset1009.com/th/articles/210732

เขมาภรณ์ บุญบำรุง (2561) ไบโอฟิล์ม : ผลกระทบต่อการสาธารณสุข วารสารเทคนิคการแพทย์ 46 (2) 6461-6471

อลงกต บุญสูงเนิน (2565) รู้จุดเสี่ยง ปิดประตูทางเข้าโรคร้ายด้วย “Biosecurity”คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์

African Swine Fever จาก http://apps.sanidadanimal.info/cursos/asf/caps/cap4.html, (2022)

บทความอื่นๆ