Call Center 02-102-4418-9

บริษัท บำบัด พัฒนา จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำและการกำจัดของเสียในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์

ยินดีต้อนรับสู่ บำบัดพัฒนา

บทความ

ปิดจุดอ่อนการระบาดของโรคติดต่อทางน้ำด้วย เบนโลโซน® คลอรีนไดออกไซด์

Water Disinfection Revamp with Bello Zon®, Chlorine dioxide

ดร.วุฒิกร อินจนา
Ms. Environmental Management
Ph.D. Agricultural Education

เทคนิคการฆ่าเชื้อทางน้ำ คือ ใจความสำคัญ ในการเรียบเรียงบทความนี้ หลังจากการนำเสนอบทความในครั้งที่ผ่านมามุ่งหวังการนำเสนอเรื่อง การจัดการสิ่งตกค้างที่มากับน้ำ (Clear) และทำการกำจัดเชื้อโรคระบาดที่มากับน้ำ (Clean)  ที่ผ่านมาผู้ประกอบการมองข้ามความสำคัญเรื่องน้ำในการเลี้ยงสัตว์ ด้วยเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีน้ำมากและเข้าถึงได้ง่ายในอดีต เน้นว่าในอดีต ผู้ประกอบการจึงมองว่าน้ำต้องมีต้นทุนที่ต้องต่ำเพราะได้มาฟรี แต่ปัจจุบัน ด้วยการเกิดโรคระบาด ในสัตว์อย่างรุนแรง เช่น โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF)  โรค Porcine Epidemic Diarrhea (PED) (สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรแห่งประเทศไทย, 2558) เรื่อง การฝังกลบซากสัตว์ตาย และ การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศโลก (Climate Change) การเพิ่มขึ้นของพื้นที่อยู่อาศัย (ชุมชน) ประชากรที่เติบโตก้าวกระโดด ทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างฟาร์มปศุสัตว์ และสังคมรอบข้าง เรื่อง สิ่งแวดล้อม น้ำเสีย และ กฎหมาย เรื่อง การใช้น้ำใต้ดิน (บาดาล) ขึ้นด้วยในขณะเดียวกัน  ต้องถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญและเรียนรู้ในประเด็นดังกล่าว ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพทางน้ำ ถือเป็นเกราะป้องกันที่สำคัญในการป้องกันการติดเชื้อโรคจากภายนอกฟาร์ม อันจะสามารถนำเชื้อโรคเข้าฟาร์มได้จากน้ำ เส้นทางของเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มหรือฝูงสัตว์ ที่สำคัญและจัดการได้ไม่ง่าย คือแหล่งน้ำกินน้ำใช้ของสัตว์ เพราะน้ำเป็นปัจจัยการผลิตที่เข้าสู่ตัวสัตว์โดยตรงทั้งจากการกินและการอาบน้ำโดยเฉพาะในสุกรอุ้มท้องมีการอาบน้ำเพื่อรักษาอุณหภูมิ เพิ่มการเกาะติดของตัวอ่อนในระยะฝังตัวในระยะสุกรอุ้มท้องช่วง 3 สัปดาห์แรกหลังผสมทุกวัน  ดังนั้นการวางระบบความปลอดภัยทางชีวภาพทางน้ำจึงถือได้ว่าเป็น สิ่งสำคัญ ต่อการเลี้ยงสุกรให้อยู่รอดในปัจจุบัน ความเข้าใจในอดีตที่ผ่านมาอาจมองว่าการใช้เพียงคลอรีนน้ำหรือ โซเดี่ยมไฮโปรคลอไรด์(NaClO2) น่าจะเพียงพอสำหรับการควบคุมเชื้อโรคที่มากับน้ำ แต่ในสภาวะโรคที่ระบาดในปัจจุบัน ได้สร้างความเสียหายแก่วงการเลี้ยงสุกรเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้จำนวนแม่พันธุ์ในประเทศลดลงมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนแม่ทั้งหมดทำให้ราคาสุกรมีชีวิตปรับตัวสูงสุดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน หากมองมุมความเสียหายที่มีมากถึง 5.5 หมื่นล้านบาท
(ประชาชาติธุรกิจ, 2565)

รูปที่ 1 รูปแสดงพัฒนาการการใช้สารฆ่าเชื้อในน้ำของฟาร์มปศุสัตว์ไทย
รูปที่ 1 รูปแสดงพัฒนาการการใช้สารฆ่าเชื้อในน้ำของฟาร์มปศุสัตว์ไทย

การใช้สารฆ่าเชื้อโรคในน้ำ (Water Disinfection) มีวิวัฒนาการจากการเรียนรู้ และ ศึกษาจากปัญหาการปฏิบัติจริง (Real problem) จนสามารถพิสูจน์ จุดอ่อนและข้อจำกัด ของสารฆ่าเชื้อในน้ำที่ใช้ในปัจจุบัน อันได้แก่ แบบผง หรือ แคลเซี่ยมไฮโปรคลอไรด์ (Calcium Hypochlorite : CaCl2O2) และ แบบน้ำ หรือ โซเดี่ยมไฮโปรคลอไรด์ (Sodium Hypochlorite : NaClO2) ดังนี้

    • ประเด็นแรก เรื่อง ความคงตัว (Stability) และ อายุการเก็บรักษา (Shelf life) ของสารเคมี
    • ประเด็นที่สอง เรื่อง การบริหารขนส่งสินค้า (Transportation & Logistic)
    • ประเด็นที่สาม เรื่อง การแปรปรวนของระดับ pH ตามฤดูกาล (pH Variation)

ประเด็นปัญหาข้างต้นเป็นมูลเหตุให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเลือกใช้ คลอรีนไดออกไซด์ (Chlorine Dioxide : ClO2) ซึ่งมีลักษณะพิเศษที่ผลิตขึ้น (Generate) สดใหม่ตลอดเวลา จากเทคโนโลยีเยอรมัน (German Standard) จึงไม่มีผลเรื่องอายุสารเคมี และ ผู้ประกอบการฟาร์มยังสามารถผลิตสารเคมีขึ้นเองในฟาร์มด้วยระบบมาตรฐานสากลและอัตโนมัติ (Automatic System) ซึ่งง่ายต่อการใช้งานและการดูแลรักษา มีคุณลักษณะเฉพาะที่สำคัญทางเคมีของคลอรีนไดออกไซด์ ที่โดดเด่นด้วยสถานะ แก๊ส จึงทำให้ระยะเวลาในการฆ่าเชื้อรวดเร็ว (Short Contract Time) และมีประสิทธิภาพออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้ในช่วงระดับความเป็นกรดด่างที่กว้าง (Available in wide range)  pH 4-10 (Noss, C.I., 1983)

Bello Zon®, Chlorine dioxide เป็นสารตั้งต้น ที่ถูก Generate ให้เกิดคลอรีนไดออกไซด์ด้วยเทคโนโลยีประเทศเยอรมัน ในมาตรฐานระดับโลก ที่ได้รับการยอมรับในสหภาพยุโรป หรือ ประเทศที่มีอุตสาหกรรมอาหารระดับโลก ภายในใต้ลิขสิทธิ์ ProMinent ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่ Heidelberg, Germany ก่อตั้งมาแล้วเป็นเวลากว่า 50 ปี มีสาขาและตัวแทนจำหน่ายกว่า 100 ประเทศ ซึ่งชำนาญและเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อทำความสะอาดในอุตสาหกรรมน้ำดื่มระดับโลก  มีเทคนิคในการผลิต Bello Zon® Chlorine dioxide แบบต่อเนื่องและอัตโนมัติทำให้ ได้สารฆ่าเชื้อคลอรีนไดออกไซด์ (Chlorine dioxide) ที่สดและใหม่ตลอดเวลา ส่งผลต่อการฆ่าเชื้อในน้ำที่เข้าฟาร์ม มีความชัดเจนในการติดตั้ง เพราะมีการตรวจหาค่า Consumption ก่อนการจ่ายสารเคมี ทำให้ได้ปริมาณและขนาดการให้ถูกต้องและคุ้มค่าที่สุด ตลอดจนมีมาตราฐานรองรับสารเคมีตั้งต้นในการผลิตในมาตรฐานระดับโลก ในมาตราฐาน NSF ที่มีมาตรฐานสูงมากที่ใช้กับมาตรฐานน้ำดื่มของมนุษย์ และการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องกับหน่วยราชการในมาตราฐานเคมีสารตั้งต้น

รูปที่ 2 รูปเอกสาร หนังสือรับรองมาตรฐาน NSF (National Sanitation Foundation)
รูปที่ 2 รูปเอกสาร หนังสือรับรองมาตรฐาน NSF (National Sanitation Foundation)
ตารางที่ 1 ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคลอรีนน้ำและคลอรีนไดออกไซด์
ตารางที่ 1 ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคลอรีนน้ำและคลอรีนไดออกไซด์
รูปที่ 3 กราฟแสดงประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ของคลอรีนน้ำ และคลอรีนไดออกไซด์ ในระดับ pH ที่แตกต่างกัน
รูปที่ 3 กราฟแสดงประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ของคลอรีนน้ำ และคลอรีนไดออกไซด์ ในระดับ pH ที่แตกต่างกัน

การเลือกใช้สารฆ่าเชื้อทางน้ำที่ดีมีความสามารถสูงและแม่นยำ เช่น  Bello Zon®, Chlorine dioxide จะสามารถออกฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อได้ครอบคลุมทุกเชื้อโรค มีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงได้ในสภาพที่ระดับความเป็นกรดและด่างแปรปรวน (pH 4-10) จาก การเปลี่ยนแปลงของสภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เช่น ฤดูกาล หรือปริมาณน้ำหลาก ตลอดจนมั่นใจ ในความเสถียรและการเสื่อมสลายของสารเคมีออกฤทธิ์ด้วย มีการผลิตที่สดและใหม่ตลอดเวลาด้วยระบบมาตรฐานเยอรมัน มีความสามารถพิเศษในการฆ่าเชื้อไวรัส โรค อหิวาต์แอฟริกาในสุกรด้วยปริมาณต่ำและชัดเจนด้วยเอกสารยืนยันทางวิชาการสากล

รูปที่ 4 รูปแสดงชุดอุปกรณ์จ่ายคลอรีนไดออกไซด์ Bello Zon รุ่น CDEB บริษัท บำบัดพัฒนา จำกัด
รูปที่ 4 รูปแสดงชุดอุปกรณ์จ่ายคลอรีนไดออกไซด์ Bello Zon รุ่น CDEB บริษัท บำบัดพัฒนา จำกัด

อ้างอิง

ประชาชาติธุรกิจ, (2565), โรคระบาดหมู ASF เสียหาย 5.5 หมื่นล้าน ส่งออกป่วน-วืดเบอร์ 1 อาเซียน.สืบค้น
เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565 จาก https://www.prachachat.net/economy/news-839615 

สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย. แนวทางการปฏิบัติงานทางคลินิกต่อปัญหาโรคพีอีดีในประเทศไทย
ครั้ง1.: สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย, 2558. 40 หน้า สืบค้นจาก
http://tsva.or.th/wp- content/uploads/2018/06/CPG-for-PED-in-Thailand-Th-1st-Edition.pdf

Filter vision, (2565),การดื่มน้ำ สิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2565 จาก
https://www.filtervision.co.th/th/knowledge/14/

Noss, C.I., W.H. Dennis, V.P. Olivieri. (1983). “Reactivity of Chlorine Dioxide with Nucleic Acids
and Proteins.” Water Chlorination: Environmental Impact and Health Effects. R. L. Jolley, et al. (editors), Lewis Publishers, Chelsea, MI

Wei R, Wang X, Cao Y, Gong L, Liu X,Zhang G and Guo C (2022) Chlorine.Dioxide

Inhibits African Swine Fever Virus by Blocking Viral Attachment and Destroying Viral Nucleic Acids and Proteins. Front. Vet. Sci. 9:844058. doi: 10.3389/fvets.2022.844058

Zhenbang Zhu, Yang Guo, Piao Yu, Xiaoying Wang, Xiaoxiao Zhang, Wenjuan Dong,

Xiaohong Liu, Chunhe Guo, (2018) Chlorine dioxide inhibits the replication of porcine reproductive and respiratory syndrome virus by blocking viral attachment. Infection, Genetics and Evolution 67 (2019) 78–87

บทความอื่นๆ