Call Center 02-102-4418-9

บริษัท บำบัด พัฒนา จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำและการกำจัดของเสียในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์

ยินดีต้อนรับสู่ บำบัดพัฒนา

บทความ

คุณภาพน้ำบาดาล กับการเลี้ยงสัตว์

Groundwater Management for livestock production

ดร.วุฒิกร อินจนา
Ms. Environmental Management
Ph.D. Agricultural Education

น้ำบาดาล ถูกเลือกเพื่อใช้ในการปศุสัตว์อย่างแพร่หลาย เพราะเป็นแหล่งน้ำ ที่สะดวกในการจัดหาและเข้าถึง ด้วยปริมาณที่มีมากถึง 45,386 ล้านลูกบาศก์เมตร มีลักษณะทางกายภาพที่โดดเด่นกว่าแหล่งน้ำชนิดอื่น น้ำบาดาล หมายรวมถึงน้ำที่อยู่ในระดับความลึกมากกว่า 15 เมตรจากระดับพื้นดินเป็นต้นไป (กรมทรัพยากรน้ำบาดาล, 2565) แต่ในความเป็นจริงตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการในทางวิชาการสำหรับการป้องกันด้านสาธารณสุขและการป้องกันในเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ในประเด็น มาตรฐานน้ำบาดาล ที่จะใช้บริโภคได้ ซึ่งมีการประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ในปี 2551 หน้าที่ 15 เล่มที่ 125 ตอนพิเศษ 85 ง ซึ่งมีรายละเอียด ในเรื่อง คุณลักษณะทางกายภาพ, คุณลักษณะทางเคมี, คุณลักษณะที่เป็นพิษ, คุณลักษณะทางบัคเตรี/แบคทีเรีย ประเด็นดังกล่าวมีเรื่องที่น่าสนใจเบื้องต้นดังนี้

  • คุณลักษณะทางกายภาพ .ให้ความสำคัญในเรื่อง ความขุ่น สี ความเป็นกรด-ด่าง
  • คุณลักษณะทางเคมี ให้ความสำคัญในเรื่อง เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี ซัลเฟต คลอไรด์ ฟลูออไรด์ ไนเตรท
  • ความกระด้างทั้งหมด ความกระด้างถาวร ความกระด้างชั่วคราว ปริมาณมวลสารทั้งหมด
  • คุณลักษณะที่เป็นพิษ ให้ความสำคัญในเรื่อง สารหนู ไซยาไนด์ ตะกั่ว ปรอท แคดเมี่ยม เซเลเนี่ยม ฯลฯ
  • คุณลักษณะด้านเชื้อโรคปนเปื้อน บัคเตรี/แบคทีเรีย ให้ความสำคัญในเรื่อง Standard plate count, Most probable number of coliform organism (MPN), Escherichin Coli

จงอย่าเชื่อในสิ่งที่ตามองเห็นว่าน้ำใส จะสะอาดและปลอดภัย

เพราะน้ำบาดาล คือ ฝนที่ตกและซึมผ่านชั้นดินชั้นหินต่างๆของเปลือกโลกนำพาจุลินทรีย์หลากหลายชนิดที่สามารถก่อให้เกิดโรคทั้งในคนและสัตว์ (Pathogenic Bacteria) โรคในทางเดินอาหาร เช่น โรคจากเชื้ออีโคไล ซัลโมเนลล่า และเชื้อไวรัส เช่น โรคอหิวาสุกรแอฟริกาในสุกร (Afican swine fever virus) และ โรคไข้หวัดนก (H5N1) เป็นต้น ซึ่งมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคนั้น ปริมาณสะสมจะอยู่ในชั้นต่างๆไหลปะปนมากับการชะล้างผ่านชั้นดินและหินน้ำบาดาลเข้าสู่ตาน้ำใต้ดินที่มีอยู่ในรูปแบบ แขนงเส้นใยแมงมุม เชื่อมโยงกันในพื้นที่ที่มีตาน้ำระดับเดียวกันและเชื่อมโยงกันทั้งหมด คุณสมบัติทางเคมีที่ท่านผู้ประกอบกิจการปศุสัตว์ควรให้ความใส่ใจ

ปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำ หรือ TDS (Total dissolved solids)

หมายถึง ปริมาณของแข็งอันได้แก่ สารอนินทรีย์ และ อินทรีย์ที่ละลายปนอยู่ในน้ำ เช่น แร่ธาตุที่เป็นสารประกอบที่มีประจุ เช่น (เกลือ) ของแคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และโซเดียม (Na) อยู่ในปริมาณสูง จึงมีการจำกัดความหมายปฏิกิริยานี้ว่า ความกระด้างในน้ำ (Water Hardness) ซึ่งหมายถึง ปริมาณสารประกอบเกลือของ Ca และ Mg เช่น แคลเซียม หรือ แมกนีเซียมคลอไรด์ แคลเซียมหรือแมกนีเซียมซัลเฟต (CaSo4, MgCl ฯลฯ) ซึ่งแร่ธาตุประจุ เหล่านี้มีผลต่อระดับความเป็นกรดและด่างในน้ำ (pH) ความกระด้างในน้ำส่งผลต่อประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อในน้ำของ คลอรีนน้ำ (Sodium hypochlorite) และแบบผง (Calcium hypochorite) ที่มีประสิทธิภาพลดลงอย่างชัดเจนกับ น้ำมีระดับความเป็นกรดและด่าง (pH) เกิน 8

ความสามารถในการนำประจุไฟฟ้า หรือ Conductivity

การวัดความสามารถของน้ำในการผ่านกระแสไฟฟ้า ความสามารถนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับเกลือและสารอนินทรีย์ที่ละลายน้ำ เช่น คลอไรด์ ซัลไฟด์ และสารประกอบคาร์บอเนต น้ำกลั่นหรือน้ำปราศจากไอออนเป็นฉนวนมีค่าการนำไฟฟ้าที่ต่ำมาก

คุณสมบัติสองประการด้านบน คือ สาเหตุหลักในการอุดตันของเส้นท่อระบบน้ำในฟาร์ม ซึ่งน้ำที่มีค่า ปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำ หรือ TDS (Total dissolved solids) และ ความสามารถในการนำประจุไฟฟ้า หรือ Conductivity สูง ย่อมเป็นสาเหตุเหนี่ยวนำการเกิด Biofilm ซึ่งเป็นรังเพาะขยายพันธุ์ของเชื้อโรคในเส้นท่อของระบบน้ำ และก่อปัญหาการอุดตันจากผลึกหินปูนที่แข็งตัวปิดกั้นการไหลของน้ำ และการซึมของก้อนเนื้อเยื่อกระดาษ ในระบบคูลลิ่งแพดของโรงเรือนอีแวป Evaporative cooling system

บริษัท บำบัด พัฒนา จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำและการกำจัดของเสียในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์
รูปที่ 1 รูปแสดงการอุดตันท่อน้ำฟาร์มปศุสัตว์และการตกตะกอนหินปูนจากน้ำบาดาล

การใช้น้ำบาดาลที่มีความกระด้าง (Hardness) สูง มักพบปัญหาการปนเปื้อนสารแขวนลอยหินปูน (Calcium Carbonate, CaCO3) สูงเกินมาตรฐาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพอุปกรณ์ เช่น การดูดซับน้ำของก้อนคูลลิ่งแพดที่ประสิทธิภาพลดลง ทำให้ไม่สามารถกักเก็บความชื้นและควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนได้ การอุดตันในเส้นท่อน้ำสเปร์ก้อนคูลลิ่งแพดส่งผลต่อระบบการให้ความชื้นของหน้าก้อนคูลลิ่งแพดไม่ทั่วถึง ทำให้ความชื้นหน้าก้อนคูลลิ่งแพดไม่สม่ำเสมอส่งผลต่อความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) และการเคลื่อนไหวของลมในโรงเรือน (Ventilation) หรือ และการอุดตันนิปเปิ้ลให้น้ำไก่ เกิดการอุดตันในระบบลูกปืนของนิปเปิ้ล ทำให้ไม่สามารถเปิดปิดน้ำได้ตามปกติ ส่งผลต่อการกินน้ำของไก่ไม่ปกติ ส่งผลต่อการกินและการย่อยอาหาร หรือ ไม่สามารถปิดการไหลของลูกปืนในนิปเปิ้ลได้จนส่งผลให้พื้นโรงเรือนเปียกแฉะและเกิดก๊าซแอมโมเนีย และ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์(ไข่เน่า) อันมีผลต่อสุขภาพสัตว์ สาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นสาเหตุหลักที่สำคัญอันเป็นอย่างยิ่งที่ไม่ควรถูกเพิกเฉยเพราะปัญหาดังกล่าวจะส่งผลต่อความเครียดของสัตว์อันเกิดจากอากาศร้อน (Effects of Heat Stress) ที่เกิดขึ้นจากปัญหาที่กล่าวมาจนเป็นผลเสียต่อประสิทธิภาพการผลิต อันได้แก่ การกินได้ การย่อยและการดูดซึมโภชนะต่างๆในอาหาร (ศิขัณฑ์ พงษพิพัฒน์, 2565 ก) หรือเรียกว่าความเครียดอันเกิดจากความร้อน (Heat Stress) (ศิขัณฑ์ พงษพิพัฒน์, 2565 ข) จนอาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นการตาย เมื่อเกิดสภาวะความเครียดกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลกย่อมส่งผลต่อ การทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย ไม่เว้นระบบการป้องกันเชื้อโรคพื้นฐาน มีประสิทธิภาพลดลงอย่างชัดเจนด้วยเช่นกัน ตามหลักความคิดสากล ที่ว่าการป้องกันย่อมดีและมีประสิทธิภาพมากกว่าแก้ไข ทำให้ ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosercurity) จึงมีพลวัตอันสำคัญต่อหลักคิดนี้ การป้องการการอุบัติของโรคทางปศุสัตว์ รูปแบบที่นิยมใช้ คือ การใช้ยาฆ่าเชื้อ พ่นพื้นผิว พ่นตัวสัตว์ ผสมในอาหารสัตว์ ผสมในน้ำดื่มสัตว์ พ่นละอองฝอยในอากาศพื้นที่ที่เลี้ยงสัตว์เพื่อควบคุมปริมาณเชื้อที่แพร่ในอากาศ (Airborn) ไม่ให้ มีปริมาณเชื้อโรคมากพอที่จะอุบัติโรคได้ ความถี่ในการใช้ยาฆ่าเชื้อและความปลอดภัยต่อตัวสัตว์ จึงมีความสำคัญต่อการป้องกันทางชีวภาพ (Biosecurity) เพราะ ผู้ประกอบการไม่สามารถรู้ได้ว่าเชื้อโรค ในพื้นผิวสัมผัส ในอากาศ มีปริมาณเพิ่มมากพอจะอุบัติโรคได้หรือยัง การพ่นอย่างสม่ำเสมอจึงถือเป็นมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพในขณะนี้ องค์ความรู้การใช้ยาฆ่าเชื้อ มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนเรื่องประสิทธิภาพและข้อจำกัดของสารฆ่าเชื้อแต่ละประเภท ดังนั้นผู้ใช้พึงศึกษาและเลือกใช้อย่างระมัดระวังตามผลที่วัดได้ เช่นการทดสอบจากห้องปฏิบัติการที่เชื่อถือได้ หรือมาตรฐานยาฆ่าเชื้อที่สำแดงจากผู้ผลิตตามเอกสารที่ได้รับการรองรับจากสากล เช่นทะเบียนการค้า และฉลากข้างผลิตภัณฑ์ เป็นต้น หรือ อาจเรียกขอเอกสารเพิ่มเติมเช่น COA ของสินค้าใน Lot การผลิตนั้นๆเพื่อยืนยันการคงอยู่ของตัวยาออกฤทธิ์ (Stability) ในยาฆ่าเชื้อชนิดนั้นๆ เพื่อให้การตัดสินใจใช้ ยาฆ่าเชื้อตัวหนึ่งตัวใดมีความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด เหมาะสมกับความสำคัญของธุรกิจปศุสัตว์ของท่าน

คุณสมบัติที่พึงมีในยาฆ่าเชื้อในปัจจุบันอาจสรุปเป็นประเด็น ได้เบื้องต้นว่า

  1. ออกฤทธิ์ควบคุมเชื้อกว้างได้หลากหลายชนิดเชื้อ เช่นแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา
  2. ไม่ระคายเคืองกัดกร่อนน้อย ไม่มีผลต่ออุปกรณ์ในระยะยาว และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  3. ระยะเวลาในการฆ่าเชื้อรวดเร็ว Contact Time สั้น
  4. ราคาเหมาะสมกับประสิทธิภาพ เนื่องจากต้องมีความถี่มากกว่าปกติในการใช้
  5. สามารถใช้ได้หลากหลายรูปแบบ (ผสมน้ำดื่ม/พ่นพื้นผิว/พ่นตัวสัตว์)
บริษัท บำบัด พัฒนา จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำและการกำจัดของเสียในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์
ตารางที่ 1. ตารางแสดงประสิทธิภาพการควบคุมเชื้อแบคทีเรีย (ที่มา : บริษัท โพรมิเน้นท์ ฟลูอิด คอนโทรล (ประเทศไทย), 2560)
บริษัท บำบัด พัฒนา จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำและการกำจัดของเสียในอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์
ตารางที่ 2. ตารางแสดงประสิทธิภาพการควบคุมเชื้อราด้วยคลอรีนไดออกซ์ (BelloZon) (ที่มา : บริษัท โพรมิเน้นท์ ฟลูอิด คอนโทรล (ประเทศไทย), 2560)

สรุป

ถ้าน้ำคุณภาพไม่ดีจะไม่สามารถเลี้ยงสัตว์ให้มีสุขภาพดีได้เลย น้ำเป็นปราการป้องกันด่านแรกในการป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม น้ำถือเป็นปัจจัยการผลิตขั้นพื้นฐาน เป็นสิ่งที่สัตว์ต้องดื่มกินและสัมผัสโดยตรง หากน้ำไม่สะอาดและมีคุณสมบัติไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จะเป็นการชักนำให้สัตว์ เกิดความเครียด ฝูงสัตว์มีสภาวะอมโรคและนำความเสื่อมถอยของระบบภูมิคุ้มกันพื้นฐาน และผลลัพธ์ที่แสดงออกมาให้เห็น คือ สุขภาพสัตว์ที่อ่อนแอ ทรุดโทรม และความต้านทางโรคต่ำ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตตกต่ำและที่สำคัญที่สุด คือน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน ถือเป็นวิธีที่ทำให้เกิดโรคระบาดติดต่อที่ง่ายที่สุด เพราะการดื่มกินเท่ากับเป็นการป้อนเชื้อโรคเข้าสู่ปากสัตว์โดยตรงนั่นเอง

อ้างอิง

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล 2565 ข่าวสารน้ำบาดาล http://www.dgr.go.th.com/newall

ประกาศกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานในทางวิชาการสำหรับการป้องกันด้านสาธารณะสุขและการป้องกันในเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พ.ศ. ๒๕๕๑. (2551, 21 พฤษภาคม) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 หน้าที่ 15 ตอนพิเศษ 85

ศิขัณฑ์ พงษพิพัฒน์. (2558 ก) โรงเรือนระบบ Evap. กับการเลี้ยงสัตว์ในเขตร้อนชื้น. ค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2565. จาก https://www.evap-cooling.com/16807297 โรงเรือนระบบ Evap กับการเลี้ยงสัตว์ในเขตร้อนชื้น.

ศิขัณฑ์ พงษพิพัฒน์. (2558 ข) ภาวะความเครียดของสัตว์จากความร้อน (Heat Stress). ค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2565. จาก https://www.evap-cooling.com/15490174 heat-stress.

บริษัท โพมิเน้นท์ ฟลูอิด คอนโทรลส์ (ประเทศไทย). (2560) เอกสารประกอบคำบรรยาย อบรมพนักงานใหม่เรื่อง คลอรีนไดออกไซด์ (Bello Zon) บริษัท บำบัดพัฒนา จำกัด

บทความอื่นๆ